ฉีดโบท็อกซ์ต้องศึกษาให้ดี
การทำโบท็อกซ์ ( Botox ) เป็นสิ่งที่ผู้หญิงต้องการทำเพื่อลดริ้วรอยให้ดูออ่นกว่าวัย ช่วยในเรื่องของความมั่นใจ บนใบหน้าให้ดูเด็ก สามารถพบปะผู้คนได้อย่างไม่อาย แต่การทำ โบท็อกซ์ ( Botox ) ต้องศึกษาให้อย่างดี
โบท็อกซ์ ( Botox ) คืออะไร
โบท็อกซ์ ( Botox ) เป็นชื่อทางการค้าของสารสกัดที่เรียกว่า “โบทูลินัม ท็อกซิน เอ” (Botulinum toxin A) จากแบคทีเรียคลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) เป็นนวัตกรรมเพื่อลดริ้วรอยและปรับรูปใบหน้าซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก
โบท็อกซ์ ( Botox ) ยังนำไปใช้การรักษาอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ไมเกรน ตาเข หนังตากระตุก กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง กล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรัง
ก่อนฉีดโบท็อกซ์ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
เตรียมใจที่จะต้องรับผลลัพธ์ที่ออกมา จะถูกใจหรือไม่ถูกใจ แต่นอกเหนือจากนั้นก็คือ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด งดรับประทานอาหารประเภทหมูกะทะ งดสูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารหลายชนิดที่ขยายหลอดเลือด งดรับประทานอาหารหมักดอง เพราะมีสารที่ทำให้เส้นเลือดขยายตัว เช่น ปลาร้า หน่อไม้ดอง มะม่วงดอง แล้วก็ยาแก้ปวดทุกขนิด
ขั้นตอนการฉีด โบท็อกซ์ ( Botox )
แพทย์ตรวจสอบสภาพผิวที่จะทำการฉีดโบท็อกซ์ และพูดคุยกับผู้เข้ารับบริการว่าจะฉีดบริเวณจุดไหนบ้าง รวมถึงยี่ห้อผลิตภัณฑ์ในการฉีดว่า เป็นยี่ห้อใด
แพทย์จะทายาชา หรือใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่จะฉีดก่อน เพื่อให้ไม่รู้สึกเจ็บเกินไป
แพทย์ทำการฉัดโบท็อกซ์ โดยจะใช้เข็มขนาดเล็กฉีดสารโปรตีนปริมาณพอเหมาะลงไปที่กล้ามเนื้อ เวลาในการฉีดจะประมาณ 10-15 นาที ขึ้นอยู่กับบริเวณ และปริมาณที่ฉีด
การทำงานของโบท็อกซ์
หลังจากแพทย์ฉีดโบท็อกซ์เข้าไปในส่วนที่ต้องการรักษาแล้ว สารโบท็อกซ์จะเข้าไปจับที่ปลายประสาท ทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทมาที่กล้ามเนื้อได้ หรือจะเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นการทำให้กล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดเป็นอัมพาตชั่วคราว
จึงทำให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นคลายตัว ซึ่งระยะเวลาที่จะเห็นผลหลังจาก โบท็อกซ์ ( Botox ) แล้วจะอยู่ที่ภายใน 1-2 สัปดาห์ และจะอยู่ได้นาน 3-6 เดือน หลังจากนั้นกล้ามเนื้อจะค่อยๆ หดตัวจนกลับมาเป็นเหมือนเดิม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของผลิตภัณฑ์โบท็อกซ์ที่ฉีดด้วย
ข้อควรระวังและผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้หลังฉีด โบท็อกซ์ ( Botox )
ผู้มีความผิดปกติทางกล้ามเนื้อและระบบประสาท เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอสไม่ควรฉีด โบท็อกซ์ เพราะอาจทำให้อาการแย่ของโรคลง และอาจมีอาการปวดศีรษะหรือปวดในบริเวณที่ฉีด
เราได้เรียนรู้ถึงการ ฉีดโบท็อกซ์ ( Botox ) ไปแล้วหากใครที่กำลังสนใจอยากจจะทำ โบท็อกซ์ ( Botox) สามารถติดต่อเรามาได้ที่ ฟารีดา คลินิก (Fareeda Clinic)
อ่านบทความเพิ่มเติม
ข้อห้ามหลังฉีดโบท็อก เพื่อให้โบท็อกอยู่ได้นานกว่าปกติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก honestdocs